3 วิธีในการหลีกเลี่ยง เพื่อไม่ให้ โครงการล้มเหลว (how to avoid project failure)
โครงการเปรียบได้เหมือนกลไกสำคัญที่ช่วยสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจ สร้างความได้เปรียบต่อการแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจได้ และยังช่วยพาให้องค์กรก้าวข้ามความเปลี่ยนแปลงจากภายนอกได้ และนอกเหนือจากการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง การบริหารองค์กรอย่างรู้คุณค่าของเป้าหมายการลงทุน สร้างคนในองค์กรให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำงาน ก็ถือเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่จำเป็น เราจึงมีวิธีการหลีกเลี่ยงความล้มเหลวของการดำเนินงานโครงการมาฝากกัน
-
มองหาสัญญาณเตือนความล้มเหลว
สัญญาณความล้มเหลวของโครงการ เช่น การขัดแย้งในองค์กร ความไม่ชัดเจนของเป้าหมาย หากผู้จัดการโครงการสามารถมองเห็นและขจัดปัญหาต่าง ๆ ก่อนที่จะลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และมากไปกว่านั้น ควรจะให้คนในองค์กรมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วย เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหา โดยมีวิธีการหลักที่สำคัญ ดังนี้
1. สร้างหลักประกันที่มีประสิทธิภาพขององค์กร
กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ของโครงการที่ชัดเจน จะช่วยสนับสนุนให้พนักงานเห็นความมั่นคงของงานได้ การเริ่มโครงการด้วยความมั่นคง แข็งแรง จะเสมือนเป็นหลักประกันให้พนักงานอุ่นใจได้ว่าองค์กรมีเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจในการทำงานได้ หรือการสร้างกฎบัตรกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจให้ชัดเจน เมื่อมีวิสัยทัศน์ชัดเจน งบประมาณชัดเจน และผู้บริหารก็มีความรับผิดชอบ ก็เท่ากับว่าเป็นการสร้างหลักประกันที่มีประสิทธิภาพให้กับองค์กรได้เช่นกัน
2. การจัดกระบวนการที่เหมาะสม
การจัดกระบวนการงานที่เหมาะสม ตั้งแต่การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้จัดการโครงการและผู้สนับสนุนโครงการ การสร้างพันธะสัญญาที่ชัดเจน นำไปสู่ทิศทางการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมงานได้อย่างเหมาะสม ผู้จัดการโครงการที่ดีจะมีวิธีการสร้างกรอบโครงการเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กรอบงานที่สำคัญ มักเริ่มด้วยการวางแผนการดำเนินงาน การส่งมอบงาน จนกระทั่งการดำเนินงานในขั้นตอนสุดท้าย สร้างกระบวนที่ชัดเจนในแต่ละเฟส ให้เห็นว่ากระบวนการเริ่มและสิ้นสุดเมื่อไหร่ ใครเป็นผู้รับผิดชอบ รวมทั้งแผนการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ รู้ว่าต้องสื่อสารกับใคร ความถี่เท่าไหร่ และจะสื่อสารอย่างไรให้เหมาะสม สุดท้ายแล้วไม่ว่าองค์กรจะใช้เทคโนโลยีอะไรเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่สิ่งเหล่านี้คือหัวใจหลักของการจัดกระบวนการงานที่เหมาะสม เพื่อให้โครงการดำเนินการได้อย่างไม่ติดขัด
3. ปลูกฝังความสัมพันธ์อันดีภายในองค์กร
ต่อให้โครงการมีเป้าหมายชัดเจน มีกระบวนการงานที่มีประสิทธิภาพ แต่สิ่งเหล่านั้นไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าพนักงานจะไม่เครียด โดยบทบาทของผู้จัดการโครงการมีส่วนสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกของทีมงาน และยังมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการสร้างแรงบันดาลใจในการบริหารโครงการ เพื่อให้แน่ใจว่าแต่ละทีมในองค์กรจะสนับสนุนการดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่อง การสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อคนในองค์กร จะนำไปสู่ความเข้มแข็งขององค์กรด้วย
ดังนั้น หากไม่อยากให้การบริหารโครงการล้มเหลวจนยอดกำไรสะดุด แนะนำให้นำเคล็ดลับเหล่านี้ไปใช้ในการบริหารโครงการ รับรองว่าจะทำให้โครงการของคุณจะไม่ล้มเหลวกลางคันเอาง่ายๆ อย่างแน่นอน
**ท่านที่สนใจและอยากประสบความสำเร็จ ในวิชาชีพ ด้านการบริหารงานโครงการ ดูรายละเอียดหรือสอบถามเกี่ยวกับหลักสูตร เพิ่มเติมได้ที่**
Call: 026103963
Email: training@psisolution.com
Website: www.psisolution.com
Facebook: https://www.facebook.com/PSISolutionsThailand
LINE@: @psisolutions